ข่าวดีตั้งแต่สำหรับท่านที่เป็นนี้ กยศ. เพราะตั้งแต่วันที่ 8 – 11 ก.ย. 65 นี้ ทาง กรมบังคับคดีและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พร้อมเสนอช่องทาง วิธีแก้หนี้กยศ. แบบไม่ถูกดำเนินคดี จากงานมหกรรม งานไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและหนี้ SMEs ในวันที่ 8 – 11 ก.ย. 65 ณ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 5 เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ผู้กู้ยืมที่เข้ากระบวนการไกล่เกลี่ยจะไม่ถูกดำเนินคดี รับส่วนลดเบี้ยปรับ และขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้ถึงอายุ 65 ปี ท่านที่สนใจไปดูรายละเอียดดังต่อไปนี้…
วิธีลงทะเบียนบัตรคนจนรอบใหม่ปี65 แบบละเอียดครบทุกขั้นตอนแบบทำได้จริง
วิธีแก้หนี้กยศ. แบบไม่ถูกดำเนินคดี นาทีทองลูกหนี้ กยศ. ทุกท่าน
รัฐบาลพร้อมช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมเชิญชวนเข้าร่วมงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและหนี้ SMEs ระหว่างวันที่ 8 – 11 กันยายน 2565 ณ อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ฮอลล์ 5 เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี โดยงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครั้งนี้ร่วมกับสถาบันการเงิน 22 แห่ง และหน่วยงานรัฐ 2 แห่ง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้กู้ยืมกลุ่มที่ค้างชำระหนี้ที่ถูกบอกเลิกสัญญาและกำลังจะถูกฟ้อง และผู้กู้ยืมกลุ่มที่จะถูกบังคับคดี ทั้งนี้ หากผู้กู้ยืมเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ย สถาบันการเงินรวมถึงกองทุนก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินคดี ซึ่งจะลดภาระค่าใช้จ่าย และนอกจากผู้กู้ยืมที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยจะไม่ถูกดำเนินคดีแล้ว ผู้กู้ยืมจะได้รับส่วนลดเบี้ยปรับ รวมทั้งได้รับโอกาสในการขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้ถึงอีกด้วย เพื่อให้ผู้กู้ยืมสามารถกลับเข้ามาสู่ระบบการชำระหนี้ให้เป็นปกติ
ขั้นตอนกระบวนการไกล่เกลี่ยหนี้
ตามที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม ได้เชิญกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เข้าร่วมจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้กู้ยืมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้กู้ยืมบางส่วนขาดรายได้และผิดนัดชำระหนี้ นำไปสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีหรือถูกบังคับคดีตามกฎหมาย กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จึงขอเชิญชวนผู้กู้ยืมเข้าร่วมงานมหกรรมไกล่เกลี่ย (มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน) โดยผู้กู้ยืมที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย สามารถกลับเข้ามาสู่ระบบการชำระหนี้ให้เป็นปกติได้ โดยได้รับเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ ดังนี้
- ผู้กู้ยืมจะไม่ถูกดำเนินคดี
- ผู้กู้ยืมจะได้รับส่วนลดเบี้ยปรับ 80%
- ผู้กู้ยืมจะได้เปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้แบบใหม่ โดยเงินที่เคยชำระมาทั้งหมดจะนำมาลดในส่วนของเงินต้นและดอกเบี้ยก่อน ส่วนเบี้ยปรับที่เหลือ 20% จะนำมาลดหนี้ในลำดับสุดท้าย
- ผู้กู้ยืมได้ขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ได้สูงสุด 30 ปี ขึ้นอยู่กับจำนวนหนี้คงเหลือและอายุต้องไม่เกิน 65 ปี ณ วันลงนามในข้อตกลงระงับข้อพิพาท
- เมื่อร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่…) พ.ศ. …. ที่อยู่ระหว่างการขอแก้ไขมีผลบังคับใช้ กองทุนจะมีอำนาจในการปลดภาระผู้ค้ำประกัน โดยกองทุนมีหลักการว่าจะยกเลิกการค้ำประกันของผู้ค้ำประกัน เมื่อผู้กู้ยืมได้ผ่อนชำระเงินต้นมาแล้วร้อยละ 25 ของเงินต้นที่ค้างชำระ
- ผู้กู้ยืมจะต้องไม่ผิดนัดชำระหนี้ หากผิดนัดชำระหนี้เบี้ยปรับที่กองทุนลดให้ 80% จะกลับมาในระบบและกองทุนจะยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อบังคับตามข้อตกลง และดำเนินการบังคับคดีตามกฎหมายต่อไป
ขั้นตอนการลงทะเบียนออนไลน์
ท่านที่สนใจกรุณากรอกข้อมูลลงทะเบียนให้ครบถ้วน ทั้ง 3 ข้อ โดยต้องบันทึกภาพหน้าจอไว้เป็นหลักฐานเพื่อนำมาแสดงในวันงาน ดังต่อไปนี้
ทำการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน คลิกลงทะเบียน
ลงทะเบียนรับสิทธิการไกล่เกลี่ยฯ ผ่านแอปพลิเคชัน กยศ. Connect …คลิกลงทะเบียน
ลงทะเบียนยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยฯ …คลิกลงทะเบียน
รูปแบบขั้นตอนการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยฯ
ไม่จ่ายหนี้ กยศ. จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
โดนค่าปรับ: หากท่านผิดนัดชำระหนี้ ต้องโดนค่าปรับ ในทุกๆวันที่ 5 ก.ค. ของทุกปี คือวันครบกำหนดชำระประจำปีของ กยศ. ซึ่งตามปกติแล้ว กยศ. จะมีหนังสือแจ้งภาระหนี้ไปถึงผู้กู้ยืม 1 ครั้ง ก่อนวันครบกำหนดชำระหนี้งวดแรก โดยจะส่งไปตามที่อยู่เดิมตามภูมิลำเนาของผู้กู้ยืม หรือที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์
ถูกฟ้องร้อง : หากมีการผิดนัดชำระ นอกจากจะต้องจ่ายค่าปรับ และเสียค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องแล้ว หากไม่ชำระคืนเป็นเวลานานก็จะถูกฟ้องดำเนินคดี โดยมีเกณฑ์ที่ “ถูกฟ้องร้อง” ได้ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- กรณีแรก ผู้กู้ยืม กยศ. ที่ค้างชำระหนี้เกินกว่า 4 ปี 5 งวด (1,460 วันขึ้นไป)
- กรณีที่สอง ผู้กู้ยืม กยศ. พ้นระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้แล้ว แต่ยังมีหนี้ค้างชำระ
- กรณีที่สาม ผู้กู้ยืม กยศ. กลุ่มไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี (มีหนี้ค้างชำระ) ตามเงื่อนไข เช่น ไม่เป็นผู้กู้ยืมเสียชีวิตหรือสาบสูญ, ไม่เป็นผู้กู้ยืมพิการหรือทุพพลภาพ ที่ได้รับอนุมัติให้ระงับการเรียกให้ชำระหนี้แล้ว, ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ชำระหนี้ปิดบัญชีแล้ว หรือผู้รับทุนที่มีบัญชีติดลบ, ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ถูกดำเนินคดีแล้ว, ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ยินยอมให้กองทุนฯ หักเงินเดือน, ไม่เป็นผู้กู้ยืมชำระหนี้มากกว่า 10% ของยอดหนี้คงเหลือ (ผลรับชำระหนี้ 2 ปี ย้อนหลัง), ไม่เป็นผู้กู้ยืมที่ถูกศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
ถูกบังคับคดีหรือถูกอายัดทรัพย์ : หลังจากที่ “ศาลมีคำพิพากษา” หากผู้กู้ยืมไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น กองทุนจะดำเนินการ “สืบทรัพย์” ของ “ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน” และ “บังคับคดี” โดยการ “ยึดทรัพย์สินและประกาศขายทอดตลาด” เพื่อนำเงินมาชำระหนี้คืนกองทุน ซึ่งผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันมีทางเลือก 2 ทางที่คือ 1. ชำระหนี้ปิดบัญชี ซึ่งหมายถึงการการจ่ายเงินปิดบัญชีทั้งหมด หรือ 2. ไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี ตามขั้นตอนทางกฎหมาย
ถูกฟ้องร้อง ต้องเจออะไรบ้าง ?
หากมีการผิดนัดชำระตามเงื่อนไขที่กองทุนกำหนด จะมีโอกาสถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งจะมีการแจ้งข้อมูลและส่งสัญญาณให้ผู้กู้ยืมรับทราบ และดำเนินคดีตามขั้นตอน ดังนี้
- กองทุนส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้ยืม ให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันทราบ และขอให้มีการชำระหนี้ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด จึงจะส่งรายชื่อให้ บมจ.ธนาคารกรุงไทย ดำเนินคดี
- บมจ.ธนาคารกรุงไทยดำเนินการฟ้องคดี กับผู้กู้ยืม และผู้ค้ำประกันตามสัญญากู้ยืมเงิน (ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะได้รับหมายศาล)
- มีหมายศาลนัด ทั้งนี้เมื่อศาลมีหมายนัด ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันต้องไปตามนัด โดยในวันนัดจะมีการไกล่เกลี่ยประนีประนอม
- ศาลพิพากษา เมื่อศาลมีคำพิพากษา ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น หากยังไม่มีการชำระหนี้ตามคำพิพากษา กองทุนจะส่งคำบังคับให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน และจะทำการ “ยึดทรัพย์” ตามกฎหมายต่อไป
- ต้องรับสภาพการบังคับคดีตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา
- ชำระหนี้ตามคำพิพากษา กรณีที่ผู้กู้ยืมไม่มีเงินชำระหนี้ตามคำพิพากษาครั้งเดียวได้ ต้องการจะผ่อนชำระ สามารถทำได้ตามความประสงค์ ในระหว่างที่กองทุนฯ ยังไม่ได้ดำเนินการบังคับคดี แต่หากกองทุนดำเนินการบังคับคดีตามกระบวนการทางกฎหมาย ผู้กู้ยืมต้องรับสภาพการบังคับคดีนั้นตามจำนวนหนี้ในคำพิพากษา
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าผลกระทมจากการไม่ชำระหนี้ กยศ. คืนตามกำหนด ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้กู้ยืมเอง ไปจนถึงผู้ค้ำประกันด้วย และแน่นอนว่าจะทำให้ผู้ที่ต้องการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษารุ่นต่อไปไม่มีโอกาสได้กู้ยืมต่อด้วย ดังนั้นใครที่ยังอยู่ในฐานะ “ลูกหนี้ กยศ.” อย่าลืมวางแผนชำระเงินคืนให้ดี เพื่อที่จะไม่ต้องได้รับผลกระทบตามที่กล่าวไปในข้างต้น ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าและดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน กยศ. Connect เพื่อรับสิทธิขอไกล่เกลี่ยฯ ได้ที่ QRcode ด้านล่างหรือทางเว็บไซต์ www.studentloan.or.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ไลน์บัญชีทางการ กยศ. หรือโทรศัพท์หมายเลข 0 2016 4888” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด ก่อนจะจากกันนอกจากบทความดีๆ แล้ว วันนี้ทาง moneysabuy เราขอแนะนำ บทความดีๆเพิ่มเติมที่ ลิงค์ด้านล่างนี้ รับรองว่าท่านผู้อ่านจะไม่พลาดบทความการเงินดีๆอย่างแน่นอน…
บทความแนะนำ
- วิธีตรวจสอบร้านค้าออนไลน์ที่เป็นมิจฉาชีพ
- วิธีสมัครสินเชื่อกู้ง่ายเพื่อคนเงินเดือนน้อย
- สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อคนเงินเดือน 10000
นอกจากนี้หากท่านกำลังต้องการ สินเชื่อเงินด่วนทันใจ อนุมัติง่ายที่สุด ที่ออกมาเพื่อเป็นช่องทางสำหรับคนที่ต้องการเงินกู้จำนวนไม่มากหรือเงินด่วนที่หมุนไม่ทันสามารถเข้าถึงเงินจำนวนนี้ได้ง่ายมากขึ้น โดยท่านที่สนใจสามารถไปดูเพิ่มได้ที่ ลิงค์นี้เลย : วิธีสมัครสินเชื่อ truemoney kkp cash now เงินกู้สมัครง่ายผ่านมือถือ