มาดู วิธีรับเงินชดเชยจากประกันสังคมเมื่อติดโควิด19 ทั้งการตรวจสอบสิทธิ ประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 39 ติดโควิด-19 ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน สำนักงานประกันสังคม จ่ายเงินชดเชยการขาดรายได้เท่าไหร่
วิธีลงทะเบียนคนละครึ่ง แบบละเอียดทุกขั้นตอน
วิธีรับเงินชดเชยจากประกันสังคมเมื่อติดโควิด19
เช็กสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตน มาตรา 40 มาตรา 39 และมาตรา 33 ติดโควิด 19 ไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหน สำนักงานประกันสังคม จ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา
ประกันสังคมมาตรา 33
กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรก จากนายจ้าง
- หยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ จากประกันสังคมนับตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยโดยได้รับเงินทดแทนร้อยละ 50 ของค่าจ้างจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยได้รับ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01) ยื่นรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 2 ปี
- สำนักงานประกันสังคมได้รายงานจากหน้างาน คือ ประกันสังคมจังหวัด เขตพื้นที่ว่า ผู้ประกันตนที่รักษาตัวหายจากโควิดแล้ว ไปติดต่อขอรับเงินขาดรายได้จากประกันสังคม ก็เป็นห่วงว่าเจ้าหน้าที่จะติดเชื้อจากท่าน หรือท่านจะติดเชื้อจากเจ้าหน้าที่ เพราะตอนนี้โอไมครอนระบาดเร็วมาก เรื่องเงินขาดรายได้ที่จะเบิกจากประกันสังคม ไม่ต้องห่วง สามารถยื่นได้ภายใน 2 ปี หรือไม่ต้องไปที่ประกันสังคมก็ได้ สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มของรับประโยชน์ทดแทนที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th แล้วส่งทางไปรษณีย์ และแนบสำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการให้ และโอนเงินเข้าบัญชี
ประกันสังคมมาตรา 39
รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50
- โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01)
- ม.33 และ ม.39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
ม.39 ติดโควิด-19 หรือกรณีลาป่วย
- รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบ (4,800 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน เว้นแต่โรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01)
เงื่อนไขและหลักฐาน รับเงินชดเชยการขาดรายได้
- มาตรา 39 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
รับเงินชดเชยการขาดรายได้วันละ 80 บาท
- น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ โฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า ผู้ประกันตนมาตรา 39 ถ้าป่วยเป็นโควิด-19 ถ้ารักษาพยายาบาลตามบัตรรับรองสิทธิ อย่าลืม ท่านได้รับเงินชดเชยการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างเป็นเวลา 90 วัน เมื่อออกจากโรงพยาบาล อย่าลืมขอใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลมาด้วย ท่านจะมาเบิกจากประกันสังคมได้ 50% จากฐานเงินเดือน 4,800 บาท แปลว่าได้รับวันละ 80 บาท มีกี่วันคูณ 80 บาทไปได้เลย นี่คือ สิทธิที่สำนักงานประกันสังคมมอบให้
ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ คุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ประกันตนมาตรา 39 ดังนี้
- เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33
- ส่งเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน
- ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
ประกันสังคมมาตรา 40
รับเงินทดแทนขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3
- พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
ยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน(สปส. 2-01/,ม.40)
- ม.40 จะพิจารณาจากเอกสารหลักฐาน และใบรับรองแพทย์ และผู้ประกันตนต้องมีการนำส่งเงินสมทบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันรับบริการทางการแพทย์ ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขฯ
ก่อนจะจากกันนอกจากบทความดีๆ แล้ว วันนี้ทาง moneysabuy เราขอแนะนำ บทความดีๆเพิ่มเติมที่ ลิงค์ด้านล่างนี้ รับรองว่าท่านผู้อ่านจะไม่พลาดบทความการเงินดีๆอย่างแน่นอน…
บทความแนะนำ
- วิธีตรวจสอบร้านค้าออนไลน์ที่เป็นมิจฉาชีพ
- วิธีสมัครสินเชื่อกู้ง่ายเพื่อคนเงินเดือนน้อย
- สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อคนเงินเดือน 10000
นอกจากนี้หากท่านกำลังต้องการ สินเชื่อเงินด่วนทันใจ อนุมัติง่ายที่สุด ที่ออกมาเพื่อเป็นช่องทางสำหรับคนที่ต้องการเงินกู้จำนวนไม่มากหรือเงินด่วนที่หมุนไม่ทันสามารถเข้าถึงเงินจำนวนนี้ได้ง่ายมากขึ้น โดยท่านที่สนใจสามารถไปดูเพิ่มได้ที่ ลิงค์นี้เลย : วิธีสมัครสินเชื่อ truemoney kkp cash now เงินกู้สมัครง่ายผ่านมือถือ
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน