เรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิการรับมรดกที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นทาง Moneysabuy เชื่อว่าหลายๆท่านอาจจะยังไม่ทราบเพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวแต่ความเป็นจริงแล้ว สิทธิการรับมรดกนั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวแต่มันใกล้ตัวมากกว่าที่ท่านคิด ดังนั้นวันนี้เราจะพาท่านไป เช็คสิทธิ ขั้นตอนการรับมรดกตามกฎหมาย เมื่อถึงเวลาท่านจะได้เข้าใจแล้วไม่ต้อง เกิดการแย่งชิงกันทรัพย์มรดกกันอีกต่อไป…
วิธีสมัครสินเชื่อ truemoney kkp cash now เงินกู้สมัครง่ายรับเงินทันที
ขั้นตอนการรับมรดกตามกฎหมาย ใครบ้างมีสิทธิและไม่มีสิทธิรับมรดก
ขั้นตอนการรับมรดกนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคคลที่เป็นเจ้าของมรดกถึงแก่กรรม มรดกย่อมตกแก่ทายาททันที : ตามกฎหมายในประเทศไทยหากบุคคลใดเสียชีวิต มรดกของบุคคลนั้นตกแก่ทายาทโดยทันที ไม่ว่าการเสียชีวิตนั้นจะเกิดจากสาเหตุธรรมชาติหรือตายโดยผลของกฎหมาย(สาบสูญ) กองมรดกจำพวกทรัพย์สินทุกชนิดที่ผู้ตายมีอยู่ ก่อน ถึงแก่ความตาย ตลอดจนทั้งสิทธิ หน้าที่และความรับผิดอื่นๆที่ผู้เสียชีวิตมีอยู่ก่อนถึงแก่ความตายด้วยเช่นกัน หรือเรียกง่ายๆว่าหากผู้ตายมีหนี้ หนี้นั้นจะตกสู่ทายาทโดยทันที เว้นแต่สิทธิ หน้าที่และความรับผิดนั้นจะเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ ตัวอย่างเช่น ความรับผิดทางอาญา หรือความเป็นนายจ้างลูกจ้าง เป็นต้น
แต่หากเป็นทรัพย์สินที่ได้มาหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ทรัพย์สินนั้นๆก็จะไม่ถือเป็นมรดกไม่จำต้องแบ่งให้แก่ทายาทได้แก่ เงินได้จากการประกันชีวิต หรือเงินค่าทำศพที่ได้จากองค์กรต่างๆ ในกรณีนี้ทายาทไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินประกันชีวิตได้ในฐานะที่เป็นทรัพย์มรดก ส่วนบุคคลใดจะได้เงินจากประกันชีวิตนั้นย่อมเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรณ์ เช่น หากคนตายทำประกันชีวิตโดยให้สิทธิรับกรมธรรณ์ เป็นคนนอกวงศ์ตระกูล คนในตระกูลก็จะไม่มีสิทธิไปรับเงินตรงส่วนนี้ด้วยเช่นกัน
ประเภททายาทตามกฎหมาย
โดยปกตินั้นทายาทตามกฎหมายจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท แบ่งออกเป็น ผู้รับพินัยกรรม และ ทายาทโดยธรรม โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ผู้รับพินัยกรรม
- สำหรับสิทธิผู้รับพินัยกรรมจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ ก่อนเสียชีวิตเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ โดยไม่ว่าจะยกทรัพย์สินให้ทั้งหมดหรือแค่บางส่วน แต่ก็มีข้อยกเว้นด้วยเช่นกันหาก ผู้ที่ถูกระบุให้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม เป็นต้นจะถือว่า ข้อกำหนดในพินัยกรรมนั้นตกเป็นอันไร้ผลตามกฎหมาย หรืออีกกรณีเช่น ต้องปันทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมนั้นสู่กองมรดกเพื่อแจกจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมต่อไป และบุคคลที่เคยมีชื่อเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมก็มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้เช่นกัน
ทายาทโดยธรรม
- สำหรับสิทธิของทายาทโดยธรรมในการรับมรดกนั้น จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เสียชีวิตยังไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้หรือทำไว้แต่พินัยกรรมนั้นไร้ผลตามที่กล่าวมาด้านบน ทรัพย์มรดกก็จะตกเป็นของทายาทโดยธรรมโดยอัตโนมัติและทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกนั้นมีสภาพบุคคล คือทายาทจะต้องเกิดเป็นทารกแล้วในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย แต่กรณีของทารกในที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาก็อาจเป็นทายาทโดยธรรมได้ หากภายหลังได้คลอดเป็นทารกภายใน 310 วัน นับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายหากเกิดกว่านั้นไม่มีสิทธิรับมรดก
การเรียงลำดับรับทรัพย์มรดก
สำหรับสิทธิการรับ ทรัพย์มรดก ของทายาทโดยธรรมจะมี 6 ลำดับ เพื่อเป็นการจัดอันดับในการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมนั้นต้องแบ่งตามลำดับชั้นดังต่อไปนี้
- ผู้สืบสันดาน หรือก็คือ บุตร(ลูกโดยกำเนิด)โดยชอบด้วยกฎหมาย, บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม
- บิดามารดา ในกรณีของบิดา เฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก
- พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
- พี่น้องต่างพ่อหรือต่างแม่ หรือ พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน
- ปู่ ย่า ตา ยาย
- ลุง ป้า น้า อา
ตัวอย่าง
นาย สมชาย มีบุตรสองคนได้แก่ นาย ขวัญชัย และ นาย คงมีบุญ และมีบิดามารดา ได้แก่นายเอก นางโท และมีพี่น้องร่วมสกุลคือ นายดำ และ นายแดง เมื่อนาย ก. ถึงแก่กรรม ตามลำดับที่จะได้รับสิทธิในมรดกของนาย ก. ผู้เป็นทายาทโดยธรรม ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีดังนี้
- ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน ก็คือ นาย ขวัญชัย นาย คงมีบุญ ผู้ซึ่งเป็นบุตรของนาย สมชาย
- ลำดับที่ 2 บิดามารดาก็คือนายเอก นางปัญญา บิดามารดาของนาย สมชาย
- และลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ก็คือ นายพงษ์ธร นายสมบุตร พี่ชายน้องชายของนาย สมชาย
ฉะนั้นเมื่อกล่าวถึงทายาทที่เป็นญาติก็จะมีถึงหกลำดับนี้เท่านั้น ห่างจากนี้ไปก็ไม่ใช่ทายาทแล้ว แต่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกทุกลำดับหรือไม่ ต้องดูกันต่อไปอีกชั้นหนึ่ง เมื่อกล่าวถึงทายาทของผู้ตายก็ต้องเอาผู้ตายเป็นหลักคือศูนย์กลางดังตัวอย่างที่ยกขึ้นก็จะเห็นได้ง่ายๆ ส่วนคู่สมรสก็ถือเป็นทายาทโดยธรรมเช่นกัน เพียงแต่ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับตามลำดับข้างต้นนี้ โดยจะมีกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นกรณีพิเศษ เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านที่เป็นสุภาพสตรี หากมีคู่ครองแนะนำให้จดทะเบียนสมรสท่านถึงจะมีสิทธิ์ตามกฎหมาย
ญาติสนิทตัดญาติห่าง คืออะไร
สำหรับความหมาย ญาติสนิทตัดญาติห่าง คือ โดยปกติทายาทโดยธรรมทั้ง 6 ลำดับนั้นจะไม่ได้มีสิทธิรับมรดกด้วยกันหมดทุกคน เพราะหากทายาทลำดับต้นยังมีชีวิตอยู่ก็เฉพาะแต่ทายาทลำดับนั้นที่มีสิทธิรับมรดก ส่วนทายาทในลำดับถัดลงมาท่านไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดก โดยเราจะขอยกตัวอย่างดังนี้
หากบุตรของเจ้ามรดกถือเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 ที่อยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานของเจ้ามรดก นั้นก็เท่ากับว่า ทรัพย์มรดกจะตกเป็นของบุตรคนดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น ทายาทลำดับที่ 3 ลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเลยไม่ว่าจะทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ส่วนทายาทในลำดับที่ 2 นั้นหากยังมีชีวิตอยู่ กฎหมายให้สิทธิร่วมรับมรดกกับทายาทลำดับที่ 1 ได้
แต่หากทายาทโดยธรรมในลำดับที่ 1 และ ที่ 2 เสียชีวิต ทายาทลำดับที่ 3 ลงไปถึงจะมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย แต่ตั้งแต่ทายาทลำดับที่ 4 ลงไปไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ถ้าทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันนั้นมีหลายคน ทายาทเหล่านั้นย่อมได้ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกคนละเท่าๆกัน
กรณีที่ไม่มีญาติรับมรดก
หากบุคคลใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้และไม่มีทายาทโดยธรรม มรดกของบุคคลนั้นย่อม ตกทอดแก่แผ่นดินทั้งหมด
สรุปจากที่อธิบายมานี้เป็นข้อมูลการรับมรดกตามกฎหมายเท่านั้น แต่ในเหตุการณ์อาจจะยังมีข้อกฎหมายอีกมากมายที่ไม่สามารถกล่าวไว้ ณ ทีนี้ได้ทั้งหมด ดังนั้นหากท่านที่ยังความสงสัยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายมรดกท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นิติกรศาลยุติธรรมทั่วประเทศ หรือที่สำนักงานอัยการ(คุ้มครองสิทธิ)ทั่วประเทศ หรือไม่ก็สามารถปรึกษาทนายความได้เช่นกัน
ก่อนจะจากกันนอกจากบทความดีๆ แล้ว วันนี้ทาง moneysabuy เราขอแนะนำ บทความดีๆเพิ่มเติมที่ ลิงค์ด้านล่างนี้ รับรองว่าท่านผู้อ่านจะไม่พลาดบทความการเงินดีๆอย่างแน่นอน…
บทความแนะนำ
- วิธีตรวจสอบร้านค้าออนไลน์ที่เป็นมิจฉาชีพ
- วิธีสมัครสินเชื่อกู้ง่ายเพื่อคนเงินเดือนน้อย
- สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อคนเงินเดือน 10000
นอกจากนี้หากท่านกำลังต้องการ สินเชื่อเงินด่วนทันใจ อนุมัติง่ายที่สุด ที่ออกมาเพื่อเป็นช่องทางสำหรับคนที่ต้องการเงินกู้จำนวนไม่มากหรือเงินด่วนที่หมุนไม่ทันสามารถเข้าถึงเงินจำนวนนี้ได้ง่ายมากขึ้น โดยท่านที่สนใจสามารถไปดูเพิ่มได้ที่ ลิงค์นี้เลย : วิธีสมัครสินเชื่อ truemoney kkp cash now เงินกู้สมัครง่ายผ่านมือถือ
อ้างอิงข้อมูล : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๖ ว่าด้วยมรดก