Moneysabuy.com เว็บไซต์ แนะนำ สินเชื่อส่วนบุคคล เงินสด ทันใจ สินเชื่อ ธนาคาร อนุมัติง่าย

ผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด-19

เช็คด่วน ! ผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด-19 สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยขาดรายได้อย่างไรบ้าง?

เช็คด่วน ! ผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด-19 สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยขาดรายได้อย่างไรบ้าง?

ผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด-19

เช็คสิทธิประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 หากติดเชื้อโควิด-19 ไม่ว่าสายพันธ์ไหนก็ตาม สามารถยื่นขอรับเงินชดเชยขาดรายได้ จากสำนักงานประกันสังคม โดยสำนักงานประกันสังคมจ่ายชดเชยให้ทุกมาตรา ยื่นรับประโยชน์ทดแทนได้ภายใน 2 ปี

สำหรับผู้ประกันตน ม.33

สำหรับเงินทดแทนการขาดรายได้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะมีสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลังมีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล แพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว และต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้าง กรณีได้รับค่าจ้าง ในวันลาป่วยครบ 30 วันทำงานใน 1 ปีปฏิทินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว

ขั้นตอนและเอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ (คนไทย)

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส.2-01)
  2. บัตรประจำตัวจริงพร้อมสำเนา
  3. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ที่ระบุวันหยุดงาน
  4. หนังสือรับรองนายจ้าง เพื่อยืนยันว่าได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยครบ 30 วัน ใน 1 ปีปฏิทิน
  5. สถิติวันลาป่วย (ถ้ามี)
  6. กรณีเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลด้วย
  7. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชีใช้ได้ 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม คือ
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)  KTB
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) BAY
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)  BBL
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)  บัตรเครดิต SCB
    • ธนาคาร บัตรเครดิตกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
    • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  IBANK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550)
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน)  CIMB เดิมคือ ไทยธนาคาร
    • ธนาคารออมสิน
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 
ผู้ประกันตนติดเชื้อโควิด-19

สำหรับผู้ประกันตน ม.39

ผู้ประกันตนมาตรา 39 จะมีสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบภายใน 15 เดือนย้อนหลังมีการนำส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือนจะติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม ก่อนวันที่เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยแพทย์มีคำสั่งให้หยุดพักรักษาตัว และต้องมีรายได้จากการประกอบอาชีพ

เอกสารในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01)
  2. บัตรประจำตัวประชาชน
  3. สำเนาบัตรประกันสังคม (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
  4. สำเนาหนังสือเดินทาง(Passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราว หรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ (เฉพาะต่างชาติ/ต่างด้าว)
  5. หลักฐานการประกอบอาชีพ เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าแผงขายของ,ใบสั่งสินค้า, ใบรับสินค้าเพื่อแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
  6. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง ที่ระบุวันหยุดงาน
  7. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลด้วย
  8. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี ใช้ได้ 10 ธนาคาร โดยไม่มีค่าธรรมเนียม คือ
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) KTB
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  BAY
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) SCB
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK
    • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) TTB
    • ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย IBANK (เริ่มใช้ 1 มกราคม 2550)
    • ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) CIMB เดิมคือ ไทยธนาคาร
    • ธนาคารออมสิน
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ทั้งนี้ ให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) 

สำหรับผู้ประกันตน ม.40

กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจะได้รับสิทธิเมื่อนำส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือ ภายใน 4 เดือนย้อนหลัง มีการส่งเงินสมทบรวมกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน ก่อนเดือนที่ประสบอันตราย หรือ เจ็บป่วย

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนมาตรา 40 (สปส. 2-01/ม.40)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา
  3. ใบรับรองแพทย์ตัวจริง หรือ สำเนาเวชระเบียน (ต้องให้เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมประทับตราสถานพยาบาล)
  4. สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร ประเภทออมทรัพย์

– ยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ ที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)